The trade4trade logo symbolizing global trade

จิตวิทยาการเทรด

จิตวิทยาการเทรดหมายความถึงองค์ประกอบทางด้านจิตใจและอารมณ์ของกระบวนการตัดสินใจในการเทรด ซึ่งจัดเป็นส่วนหนึ่งของบุคลิกภาพและพฤติกรรมของเทรดเดอร์ที่ส่งผลกระทบต่อผลลัพธ์ในการเทรด

เสี่ยงเกินไป ในขณะที่ความกลัวมากเกินไปอาจส่งผลให้เกิดการพลาดโอกาสหรือขัดขวางการเทรดและทำให้ได้กำไรเพียงเล็กน้อย การพัฒนาความตระหนักรู้ในตนเองจึงมีแนวโน้มที่จะช่วยให้เทรดเดอร์สามารถระบุรูปแบบพฤติกรรมเชิงลบที่เกิดขึ้นซ้ำๆ รวมถึงสิ่งที่บดบังวิจารณญาณการตัดสินใจของพวกเขาได้ และ

Being too greedy may lead to decisions that are considered overly risky. Being too scared can result in missed opportunities or hindered trading with little capital gain. Developing self-awareness is likely to help a trader identify recurring negative behavioural patterns and the way they cloud sound judgement.

ช่วยให้เทรดเดอร์สามารถจัดการกับพฤติกรรมเหล่านั้นเพื่อให้มั่นใจได้ว่าจะดำเนินการตัดสินใจเทรดได้อย่างเป็นกลางและสมเหตุสมผล

การเงินเชิงพฤติกรรม

การศึกษาจิตวิทยาการเทรดจะเป็นการพิจารณาถึงเหตุผลเบื้องหลังต่างๆ ที่ทำให้เทรดเดอร์ตัดสินใจผิดพลาดเกี่ยวกับตลาดหรือเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการเงินอื่นๆ ยิ่งโดยเฉพาะแนวคิดการเงินเชิงพฤติกรรมซึ่งเป็นการผสานรวมระหว่างจิตวิทยาและการเงินเข้าด้วยกันแล้วนั้น แนวคิดนี้จะเป็นการสำรวจผลกระทบของพฤติกรรมมนุษย์ต่อทางเลือกทางการเงินและผลลัพธ์ในการเทรด กล่าวอีกนัยหนึ่งคือแนวคิดการเงินเชิง

พฤติกรรมจะชี้ให้เห็นถึงอิทธิพลและอคติทางจิตวิทยาที่ขับเคลื่อนพฤติกรรมของบรรดาเทรดเดอร์และผู้ประกอบวิชาชีพทางการเงิน รวมถึงสำรวจว่าพฤติกรรมดังกล่าวสามารถส่งผลต่อผลลัพธ์ของตลาดอย่างไรบ้าง นอกจากนี้เรายังพิจารณาการเงินเชิงพฤติกรรมเพื่อให้เข้าใจผลลัพธ์ในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้นด้วย

นอกจากนี้แนวคิดการเงินเชิงพฤติกรรมยังแสดงให้เห็นว่าผู้เข้าร่วมดำเนินการทางการเงินนั้นไม่ได้มีเหตุผลเสมอไป ทั้งยังไม่อาจควบคุมการกระทำของตนได้อย่างสมบูรณ์ หากแต่กลับได้รับอิทธิพลจากปัจจัยทางจิตวิทยาต่างๆ และมีแนวโน้มในการควบคุมตนเองที่ค่อนข้างธรรมดา ยิ่งไปกว่านั้นแนวคิดการเงินเชิงพฤติกรรมยังชี้ให้เห็นด้วยว่าการตัดสินใจในบริบททางการเงิน

นั้นถูกขับเคลื่อนโดยสุขภาพจิตและสุขภาพกายของคนเรา กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ สภาพจิตใจของคนเราจะผันผวนไปตามระดับสุขภาพโดยรวมของพวกเขา อย่างไรก็ตามอคติด้านพฤติกรรมที่พบบ่อยที่สุดนั้นได้แก่ ความมั่นใจที่มากเกินไป, พฤติกรรมแห่ตามฝูงชน, พฤติกรรมการแบ่งบัญชีในใจ, ช่องว่างทางอารมณ์, พฤติกรรมการยึดติด, พฤติกรรมเข้าข้างตนเอง และพฤติกรรมเกลียดชังความสูญเสีย

การเทรดตามอารมณ์

ศัพท์ยอดนิยมอีกคำหนึ่งที่อยู่ในขอบเขตของจิตวิทยาการเทรดคือ การเทรดตามอารมณ์ (หรือการลงทุนตามอารมณ์) เช่นเดียวกับการเงินเชิงพฤติกรรม การเทรดตามอารมณ์หมายความถึงแรงกระตุ้นทางพฤติกรรมที่เกิดจากความ


ผันผวนของตลาด ซึ่งส่งผลให้เกิดการซื้อหรือขายสินทรัพย์โดยใช้อารมณ์ การเทรดตามอารมณ์อาจได้รับอิทธิพลจากอารมณ์ต่างๆ เช่น ความตื่นตระหนก, ความโลภ, ความตื่นเต้น, ความกลัว หรือแม้แต่ความมั่นใจที่มากเกินไป


ตัวอย่างทั่วไปของการตัดสินใจเทรดตามอารมณ์นั้นได้แก่ การเทรดมากเกินไป, การขายด้วยความตื่นตระหนก, การสร้างอคติเพื่อยืนยันความเชื่อของตน และอื่นๆ ทั้งนี้การรับมือกับพฤติกรรมการเทรดตามอารมณ์นั้นต้องอาศัยความฉลาดทางอารมณ์เพื่อรักษาวินัยและจัดการกับความเครียดทางจิตใจ นอกจากนี้การ


จัดการกับความเครียดทางจิตใจ นอกจากนี้การมีส่วนร่วมในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและการลงทุนในการพัฒนาตนเองจะช่วยให้เทรดเดอร์ได้รับทักษะที่สำคัญ เช่น ทักษะในการควบคุมตนเอง, ความเข้าใจมุมมองต่อเหตุการณ์ต่างๆ และความมั่นใจ

สัญชาตญาณในการเทรด

รูปแบบสำคัญของจิตวิทยาการเทรดอีกรูปแบบหนึ่งคือ แนวคิดเกี่ยวกับสัญชาตญาณในการเทรด ตัวอย่างเช่น เทรดเดอร์อาจอาศัยการหยั่งรู้หรือสัญชาตญาณในการตัดสินใจในตลาดการเงิน อย่างไรก็ตาม การจะเชื่อในสัญชาตญาณได้ 

 

นั้นจะต้องมีความตระหนักรู้ในตนเองได้เป็นอย่างดีเยี่ยม และต้องสามารถแยกแยะการตัดสินใจที่ถูกต้องและสมเหตุสมผลออกจากการตัดสินใจที่ขับเคลื่อนด้วยแรงกระตุ้นทางอารมณ์ได้ อีกทั้งยังต้องตระหนักรู้ว่าความเป็นกลางของคนเราอาจถูกบิดเบือนหรือบดบังด้วยอคติ และต้องรู้จักจัดการแก้ไขปัญหาดังกล่าว

 

ได้ ทั้งนี้ปรากฏการณ์ทางจิตวิทยาที่พบบ่อยที่สุดสามประการซึ่งส่งผลต่อการตัดสินใจอย่างสมเหตุสมผลนั้นได้แก่ อคติที่อาจได้รับจากการอาศัยประสาทสัมผัส (สร้างความคิดเห็นที่เกิดจากข้อมูลที่อาจมีอคติ), การหลีกเลี่ยงสิ่งที่คลุมเครือ (ความกลัวต่อสิ่งที่ไม่รู้) และการคาดหวังความเป็นรูปธรรม (เวลาที่หันมาสนใจความรู้สึกเมื่อคาดหวัง แทนที่จะบรรลุสิ่งที่คาดหวังไว้ตั้งแต่แรก)

Pie chart showing distribution of data with a green circle representing one category and a blue circle representing another.

ขอบคุณสําหรับการเยี่ยมชม T4Trade

เว็บไซต์นี้ไม่ได้มุ่งเป้าไปที่ผู้อยู่อาศัยในสหภาพยุโรปและอยู่นอกกรอบการกํากับดูแลของยุโรปและ MiFID II

โปรดคลิกด้านล่างหากคุณต้องการดําเนินการต่อไปยัง T4Trade ต่อไป

ขอบคุณสําหรับการเยี่ยมชม T4Trade

This website is not directed at UK residents and falls outside the European and MiFID II regulatory framework, as well as the rules, guidance and protections set out in the UK Financial Conduct Authority Handbook.

โปรดคลิกด้านล่างหากคุณต้องการดําเนินการต่อไปยัง T4Trade ต่อไป